Close

Sense of Belonging จิตสำนึกและความรู้สึกในการเป็นเจ้าของ

อันที่จริงเคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วครั้งนึง แต่เป็นแบบสั้นๆ และเป็นส่วนหนึ่งของบทความ Royalty 3.0 ซึ่งมันเป็นส่วนของการให้กลุ่มเป้าหมายของเรามีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมด้วยกับโปรเจ็ค, ผลงาน หรือสินค้าของเรานั่นเอง แต่จริงๆ คำคำนี้ส่งผลมากมายกับสังคมและองค์กรต่างๆ บางครั้งในองค์กรเราอาจจะได้ยินคำว่า Sense of Ownership หรือ Organization Ownership หรืออะไรก็ตามประมาณนี้แล่ะ แต่ความหมายรวมๆ ก็คือการที่เรานั้น รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมเปรียบเสมือนว่า องค์กร หรือธุรกิจนั้นๆ คือตัวตนของเรา 

Sense of Belonging นั้นโดยความเห็นส่วนตัว ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ในการทำงาน เพราะไม่ว่าเราจะเก่งหรือมีความสามารถแค่ไหน แต่แค่การมีมุมมองของการเป็นเจ้าของเพิ่มเข้าไปด้วยแล้ว ปัญหาอุปสรรคหลายๆ อย่าง ก็จะมีทางออกเสมอ หรืออย่างน้อย เราก็จะมองหาวิธีการที่ดีที่สุดให้กับองค์กร

ตัวอย่างหนึ่งของความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของก็คือ ช่วงเวลาการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติทุกรายการ เช่นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2020 ที่กำลังแข่งขันอยู่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครจังหวัดอะไร จนหรือรวย รสนิยมทางการเมืองเป็นแบบไหนไม่สำคัญ แต่ช่วงจังหวะเวลาที่น้องเทนนิส นักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย กำลังลุ้นเหรียญทองในช่วง 7 วินาทีสุดท้ายนั้น พวกเราทุกคนต่างร่วมกันเชียร์เหมือนกับว่าเหรียญที่ได้มาคือเหรียญของเราทุกคน ความรู้สึกแบบนี้แล่ะ ที่เรามี Sense of Belonging

หรืออีกรูปแบบหนึ่งเช่นในด้อมต่างๆ ที่อยู่บนโซเชียล ทั้งของศิลปินไทยหรือเทศต่างๆ ที่จะมีแฟนคลับคอยอัพเดทข้อมูลข่าวสารของศิลปินที่ตนชื่นชอบ แบบว่าทำด้วยใจล้วนๆ ไม่ได้รายได้แถมบางทีอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำอะไรแบบนี้ด้วยซ้ำ แต่ทุกคนก็มีความยินดี ที่ได้ทำ ได้เป็นส่วนหนึ่งของคอมมิวนิตี้นั้นๆ หรือหากวันดีคืนดี ศิลปินของตนนั้นมีเรื่องราวดราม่าเกิดขึ้นเหล่าแฟนด้อมทั้งหมด ก็พร้อมที่จะคอยปกป้องศิลปินของตนเองอย่างสุดความสามารถกันเลยทีเดียว

ผมเชื่อว่าคนหลายๆคนที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแบบที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ คนที่เป็นเพียงลูกจ้าง ที่ทำงานรับเงินเดือน จากบริษัทหรือองค์กรต่างๆ แต่เรากลับได้เห็นว่าเค้านั้นได้รับโอกาสมากมายจากผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัท นั่นเป็นเพราะเขาเหล่านั้นใช้ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของในองค์กรขับเคลื่อนการทำงานของเค้า แบบที่เจ้าของไม่จำเป็นต้องมาคอยกำกับดูแล หรือบางคนแทบจะทำทุกอย่างแทนได้หมดและทำได้ดีกว่าเจ้าของด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะหากเราใช้หลักการตลาด หรือหลักการในการทำเงิน ทำกำไรให้กับธุรกิจเพียงอย่างเดียว เราก็จะได้รับผลลัพท์ที่เราโฟกัส แต่หากเราคิดเหมือนเป็นเจ้าของแล้ว ทำให้เรามองได้กว้างขึ้น รอบด้านขึ้น ไม่ได้มองแค่ตัวเลข แต่มองถึงความยั่งยืนที่องค์กรและธุรกิจจะแข็งแรงเติบโตไปกับสังคมได้ สร้างทั้งภาพลักษณ์และกำไรให้กับธุรกิจนั้นๆ 

svg1 min read

Leave a reply

me:

จากประสบการณ์ที่อยู่ในตลาดของอินเตอร์เน็ตเมืองไทย (ตั้งแต่ปี 1999) ผมได้ผ่านอะไรหลายๆอย่าง ผ่านยุคผ่านสมัยต่างๆของ เทคโนโลยี และในปัจจุบันก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดอยู่ในธุรกิจนี้ เพียงแต่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ตอนนี้ผมทำงานเกี่ยวกับ Influencers โดยเฉพาะบน YouTube ใครสนใจหรืออยากได้คำแนะนำในการทำเนื้อหาบน YouTube ยินดีพูดคุยกันนะครับ

ป.ล. ผมเลี้ยงง่าย แค่กาแฟถ้วยเดียวก็พอครับ

Categories

Twitter feed is not available at the moment.