CBDC คืออะไรกันแน่ เรามักจะได้ยินคำคำนี้บ่อยมากขึ้นในหัวข้อการเงินและธนาคาร เพราะคำเต็มๆของ CBDC มาจาก Central Bank Digital Currency หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทยนั่นแล่ะ) ซึ่งถ้ามีการติดตามข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็จะรู้ว่าทีมงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีการศึกษาความเป็นไป และสิ่งที่จะเกิดผลกระทบจากการมีและการใช้งาน CBDC หรือ บาทดิจิทัล ในประเทศไทยมาซักระยะเวลานึงแล้ว สำหรับคนที่อยู่ในตลาดคริปโตมาก่อนแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนก็อาจจะมีสกุลเงินที่เป็น Stable Coin ใช้งานกันอยู่แล้ว ซึ่งเราเองก็อาจจะเคยได้ยินข่าวร้านหมูกระทะบางร้านก็สามารถชำระเงินค่าอาหารมื้อนั้นด้วยเหรียญคริปโต ซึ่งก็คือ Stable coin อย่าง USDT, BUSD, หรือ USDC นั่นเอง ซึ่ง CBDC หรือเงิน บาทดิจิทัล ก็เป็นแบบเดียวกัน คือเป็นเหรียญที่มีค่าค่อนข้างคงที่ตายตัว 1 บาทดิจิทัล
อันที่จริงเคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วครั้งนึง แต่เป็นแบบสั้นๆ และเป็นส่วนหนึ่งของบทความ Royalty 3.0 ซึ่งมันเป็นส่วนของการให้กลุ่มเป้าหมายของเรามีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมด้วยกับโปรเจ็ค, ผลงาน หรือสินค้าของเรานั่นเอง แต่จริงๆ คำคำนี้ส่งผลมากมายกับสังคมและองค์กรต่างๆ บางครั้งในองค์กรเราอาจจะได้ยินคำว่า Sense of Ownership หรือ Organization Ownership หรืออะไรก็ตามประมาณนี้แล่ะ แต่ความหมายรวมๆ ก็คือการที่เรานั้น รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมเปรียบเสมือนว่า องค์กร หรือธุรกิจนั้นๆ คือตัวตนของเรา Sense of Belonging นั้นโดยความเห็นส่วนตัว ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ในการทำงาน เพราะไม่ว่าเราจะเก่งหรือมีความสามารถแค่ไหน แต่แค่การมีมุมมองของการเป็นเจ้าของเพิ่มเข้าไปด้วยแล้ว ปัญหาอุปสรรคหลายๆ อย่าง ก็จะมีทางออกเสมอ หรืออย่างน้อย เราก็จะมองหาวิธีการที่ดีที่สุดให้กับองค์กร ตัวอย่างหนึ่งของความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของก็คือ ช่วงเวลาการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติทุกรายการ เช่นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2020 ที่กำลังแข่งขันอยู่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครจังหวัดอะไร จนหรือรวย รสนิยมทางการเมืองเป็นแบบไหนไม่สำคัญ
ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รถ Ford Eco-Sport ของผมโดนชนท้ายทำให้ต้องพาเข้าไปจอดในอู่นานพอสมควร ทั้งๆที่ไม่ได้หนักหนาอะไร แต่ก็เป็นประสบการณ์ว่า การทำประกันอู่นั้น กว่าจะได้อะไหล่มาแต่ละชิ้นนั้นยากเย็น รอแล้วรออีก แม้แต่อะไหล่ชิ้นเล็กๆ ยังต้องรอกันนานเลย สรุปก็คือ จอดที่อู่ 2 เดือนเต็มๆ จนแบตเสื่อมกันเลย ซึ่งในช่วงที่ไม่มีรถใช้ ก็เลยได้มีโอกาสเอามอเตอร์ไซค์ ใช้ซื้อของตะลอนๆ ไปที่ต่างๆบ้าง ทั้งคันเก่าคันแก่ Scoopi-I (เจ้าแองกรี้เบิร์ด) หรือได้ฟิลาโน่ของบูม(น้องชายแจน) มาให้ยืมใช้แว้นแถวๆบ้าน ก็เลยได้ทดสอบตัวเองว่า ถ้าจะซื้อมอเตอร์ไซค์จะชอบการขี่มั้ย หรือจะรู้สึกร้อน เมื่อย เหนื่อยรึป่าว แต่ช่วง 2 เดือนที่ไม่ได้ขับรถ ก็ทำให้รู้ว่า ตอนที่อยู่บนรถมอเตอร์ไซค์นั้นก็สนุกดีนะ อารมณ์คล้ายๆ กับการได้สนุกกับการปั่นจักรยานน่ะแล่ะ สุดท้ายก่อนที่รถจะเสร็จแค่วีคเดียวก็เลยตัดสินใจไปถอยเจ้า Honda CRF 300L มาเรียบร้อย เอาจริง ในกลุ่มรถมอเตอร์ไซค์เนี่ย
หนึ่งในหัวข้อที่ผมสอน YouTube Creators บ่อยๆ ก็คือ พื้นฐาน 10 ข้อในการสร้างช่อง YouTube และข้อแรกของมันก็คือ ทำคอนเท้นต์ที่คนดูอยากแชร์ (Shareability) ซึ่งมันจะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการโปรโมต YouTube channel ของคุณให้เป็นที่รู้จักจากคอนเท้นต์เหล่านี้ อาจเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความสามารถพิเศษ อย่างเช่น เด็กเล่นเครื่องดนตรีได้เก่งเกินเด็ก นักกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่เล่นผาดโผนได้เก่ง (จักรยาน สเก็ตบอร์ด ปากัวร์) หรือเรื่องราวเหลือเชื่อบางอย่าง เช่นทริคช็อตต่างๆ หรือคุณป้าที่อายุไม่น้อยแล้วแต่เป็นนักกีฬาลองบอร์ด หรืออาจเป็นเนื้อหาที่มีความฮาเป็นตัวนำ เช่นคลิปในหัวข้อก่อนหน้าที่เป็นกีฬาเอ็กซ์ตรีมต่างๆ แต่คราวนี้ไม่ได้ว้าวเพราะไม่เจ๋งพอ แต่กลับกลายเป็นฮา เพราะทำพลาด ซึ่งถ้าเราวัดจากช่องยูทูปต่างประเทศ คนติดตามคลิปพลาด (Fail) มีมากกว่าคลิปเจ๋ง (Awesome) อยู่พอสมควร และเนื้อหาที่เกี่ยวกับหัวข้อในวันนี้ก็คือเรื่องของกระแส เทรนด์ และความนิยมในช่วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งได้ผลดีในหลายๆคนหลายเคส ยกตัวอย่างเช่น กระแสแรก ขอยกให้กับกระแสที่ตามมาพร้อมกับการ Lock
เชื่อว่าคอกาแฟหลายๆ คน น่าจะต้องเคยลิ้มลองเครื่องดื่มแปลกๆ ที่มีขายใน Starbucks กันมาบ้างไม่มากก็น้อย และเมนู 1 ในนั้น ที่ผมเองก็เข้าไปสั่งอยู่บ่อยๆ ก็คือ น้ำส้ม Orangina ที่เพิ่ม Espresso 1-2 ช็อต นั่นเอง ความจริงแล้วเมนูนี้ กลายเป็นเมนูราคาถูกเมนูนึงเลย สำหรับใครที่ไม่รู้สึกว่า รสชาติมันแปลกๆไปจากกาแฟปกติ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบราคากันแล้ว น้ำส้มเพิ่มช็อตอันนี้ ราคาถูกกว่า เมนู อเมริกาโน่เย็นด้วยซ้ำ แต่บางคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกาแฟเย็นที่มีรถชาติส้มและความซ่าของโซดา ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า ถ้าเกิดอยากกินเมนูนี้ เราจะทำเองที่บ้านยังไง เพราะน้ำส้ม Orangina เอาจริงๆ หาซื้อยากกว่าเมล็ดกาแฟหลายเท่าเลย ก็คือว่าถ้าอยากกินก็ค่อยแวะกินที่ Starbucks นั่นเองครับ แถมเคยลองหาเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีรสส้มมาผสมกับ espresso แล้วก็ไม่ใกล้เคียงเลย และในที่สุด ก็มีเครื่องดื่ม สิงห์
จักรยาน กับความนิยมในบ้านเรา จะมีมาเป็นพักๆ คือมีความนิยมแล้วก็พักไป ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้มันเป็นแบบนั้นนะครับ เริ่มต้นเมื่อช่วงที่มีกระแสของจักรยานฟิกเกียร์ ที่ทำให้การปั่นจักรยานได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นรวดเร็ว จนเป็นกระแส และเริ่มต้นมีทางเลียบรันเวย์ที่สุวรรณภูมิ ปั่นข้างถนน มาเป็นสนามเขียว ที่มีความยาว 23.5 กิโลเมตร และล่าสุดปรับปรุงเป็น Skylane ที่อุปถัมป์โดยธนาคารไทยพาณิชย์ และ การท่าฯ ซึ่งช่วงหลายปีก่อนเราอาจจะเป็นการออกทริปบนถนนกรุงเทพฯ ที่บ้างก็ปั่นกันเป็นระเบียบ บ้างก็เป็นขาแรงสร้างความรำคาญให้รถบนถนนบ้าง มีคละกันไปหลายแบบครับ แต่ที่แน่ๆ สำหรับคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำแล้ว เหตุผลอย่างหนึ่งก็คงเป็นเรื่องของการอยากมีสุขภาพที่ดีนั่นเอง ทำให้หลังจากที่ความนิยมลดลง ก็ยังคงมีกลุ่มคนที่ยังคงไปปั่นที่ Skylane อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า แดดจะแรง หรือฝนจะตก ก็ไม่สนใจ ยังคงไปปั่นสม่ำเสมอ (เรื่องลมไม่ต้องพูดถึง จากประสบการณ์ส่วนตัว ที่นี่คือ มีลมแรง กะ มีลมแรงมาก) โดยส่วนตัวเป็นอีกคนที่ปั่นจักรยาน และก็ได้มีโอกาส เอาจักรยานธรรมดาเนี่ยแล่ะ ไปอัพเกรด
ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ทุกๆคนบนโลก น่าจะต้องปรับตัวกันเยอะเลยนะครับ ตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อ Covid-19 ที่ถ้านับในประเทศไทยก็คงช่วงตรุษจีนปี 2020 ที่เราทำคลิปให้กำลังใจชาวจีน พร้อมอ้าแขนเปิดรับนักท่องเที่ยวจีน เข้ามาในบ้านเรา จนมีโอกาสได้เป็นประเทศแรก ที่เชื้อโควิดระบาดนอกประเทศจีนไปเลย (ไอสัส) ผ่านมาปีกว่าๆ มนุษย์โลกแบบเราๆ ที่ไม่ใช่เรา ก็ได้พยายามคิดค้นวัคซีนมาเพื่อจัดการกับการระบาด และการกลายพันธุ์ ในที่สุด บ้านเราก็ได้วัคซีนมา 2 ยี่ห้อแรก ทั้่ง AstraZeneca และ SinoVac ซึ่งจากข่าวคราวที่คนทั้งประเทศติดตาม ทุกคนคงอยากได้ Pfizer หรือ Moderna มากกว่า หรือแม้แต่ถ้าจะเป็น Sinopharm หรือ Sputnik V จากรัสเซียก็คงใจชื้นกว่า SinoVac และ AZ แน่นอน อย่างไรก็ดี สุดท้ายเราก็เลือกไม่ได้
หากใครอยู่ในกระแสเทคโนโลยีในวันนี้ เชื่อได้เลยว่า ต้องมีคนรอบข้างของเราซักคนต้องพูดถึงตลาดคริปโตอย่างแน่นอน ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยี และแน่นอน รอบๆ ข้างก็มีคนมากมายให้ความสนใจในตลาดเงินคริปโตเช่นกัน แต่เชื่อมั้ยครับ ด้วยความน่ากลัวของมัน ถึงแม้จะรู้ว่า ในโลกใบนี้มีดีมานด์เกี่ยวกับเงินคริปโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ผมเองก็แทบจะไม่ได้ให้ความสนใจมันซักเท่าไหร่เลย และยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงแรกๆ ที่เงินคริปโต ผ่านหูผ่านตาผมนั้น มันช่างร้อนแรงและน่ากลัวสุดๆ และยังพอจะจำได้ว่า สมัยนั้นเป็นยุคที่ กลุ่มคนหาเงินออนไลน์จะพูดคุยกันเรื่องการลงทุนขุดเหรียญบิทคอยน์ (BTC) ซึ่งสมัยนั้นเป็นช่วงที่ราคาน่าจะกำลังพุ่งอย่างแรง และ มีบริการรับจ้างขุดแบบเป็นฟาร์มมาแนะนำกันเพียบ ในช่วงเวลานั้นถึงแม้มันจะมีความเสี่ยงสูงก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก แต่เหตุผลที่สำคัญสุดๆ ก็คือสภาวะเงินในกระเป๋าที่เพิ่งสูญไปกับทองคำ (ตลาดฟิวเจอร์) และไม่เหลือให้ลงทุนเพิ่มเติม ก็ได้แต่บอกกับตัวเองไปว่า ระวังไว้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวจะเหมือนทองคำนะ ลงไปแล้วเจ็บตัว ทำให้ได้แต่มองคนอื่นสนุกสนานกับการขุดเหรียญ BTC กันไป และในทุกช่วงเวลาที่ผ่านไปเรื่อยๆ เราก็จะได้ยินข่าวของตลาดคริปโตผ่านมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาด ICO ที่เฟื่องฟูอยู่ช่วงเวลานึง หรือแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ ก็พยายามที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Digital
ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี ที่ได้ทำงานอยู่ตรงนี้ (ตอนนี้ผมทำงานบริษัท POPS Thailand) เพราะด้วยความที่เป็น YouTube Partner ทำให้เราได้มีโอกาส และได้มีประสบการณ์ต่างๆมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ YouTube Channel ของ Partner เราโดนแฮก!! วันนี้เรามาพูดถึงสถานการณ์ว่า หากช่อง YouTube ของเรานั้นโดนแฮก เราจะทำอย่างไรได้บ้าง เริ่มต้นเลย คงต้องดูก่อนว่า ระดับของการเข้าถึงของแฮกเกอร์นั้นเข้าถึงการใช้งานได้ในระดับไหน เพราะเดี๋ยวนี้ในหลายๆ ช่อง อาจจะปรับเปลี่ยนเป็น Brand account ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนคนที่จะเข้ามาบริหารจัดการช่องยูทูปของเราได้ด้วย เราจะเรียกว่า Manager ช่อง ซึ่งในปัจจุบันสามารถตั้งค่าได้ทั้งหมด 4 ระดับ คือ Primary Owner (เจ้าของหลัก) Owner (เจ้าของร่วม) Manager
จักรยานกับผม เป็นอะไรที่อยู่ด้วยกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เลยก็ว่าได้ครับ จนถึงวันนี้ ก็ยังคงอยู่กับจักรยานเสมอๆ ถึงแม้ว่า จะไม่ค่อยได้ไปออกทริปแบบจริงๆจังๆ หรือแม้แต่เอาไปปั่นรอบๆสนามบิน ที่สนามปั่นจักรยานเจริญสุข มงคลจิต หรือสกายเลน นั่นเองครับ และแล้วเวลาที่บรรดานักปั่นทั้งหลายต่างรอคอยกันอยู่ก็คือการสิ้นสุดช่วงเวลาหน้าฝน ที่หลายคนอยากออกไปปั่นจักรยาน แต่ติดตรงที่ไม่อยากเปียกฝนเนี่ยสิ ช่วงเวลาหน้าฝนจึงเป็นช่วงเวลาขุนตัวเองให้อ้วน ก่อนที่จะมาปั่นกันเต็มที่ในช่วงหน้าหนาว ที่หนาวกันจนรักแร้เปียกกันเลย และตอนที่เขียนโพสต์นี้ ก็อยู่ช่วงปลายเดือนตุลาคม เตรียมเข้าเดือนพฤศจิกายน ก็เลยเป็นช่วงเวลาที่จะได้ปั่นจักรยานบ่อยขึ้นนั่นเองครับ แต่รอบนี้ ไม่ใช่การเอาจักรยานไปออกทริป หรือ เอาออกไปปั่นตามสนาม หรือสวนใดๆครับ มันคือการเอาออกมาใช้แทนรถยนต์ ใช้เพื่อเดินทาง จากบ้านไปทำงานครับ อ้างถึงสาเหตุแค่ชอบปั่นจักรยาน คงยังไม่เพียงพอกับการเอาจักรยานมาเป็นพาหนะ เพื่อใช้เดินทางระหว่างบ้าน กับ ที่ทำงาน (ร่มเกล้า ไป สาทร) ซึ่งระยะทางก็ เที่ยวละประมาณ 30 กิโลเมตรกันเลยครับ แต่ด้วยเดิมที ไม่ได้ใช้รถมาตลอดหลายปี การเดินทางส่วนใหญ่
me:
จากประสบการณ์ที่อยู่ในตลาดของอินเตอร์เน็ตเมืองไทย (ตั้งแต่ปี 1999) ผมได้ผ่านอะไรหลายๆอย่าง ผ่านยุคผ่านสมัยต่างๆของ เทคโนโลยี และในปัจจุบันก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดอยู่ในธุรกิจนี้ เพียงแต่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ตอนนี้ผมทำงานเกี่ยวกับ Influencers โดยเฉพาะบน YouTube ใครสนใจหรืออยากได้คำแนะนำในการทำเนื้อหาบน YouTube ยินดีพูดคุยกันนะครับ
ป.ล. ผมเลี้ยงง่าย แค่กาแฟถ้วยเดียวก็พอครับ
Twitter feed is not available at the moment.